สมุนไพรแก้ปวด


อาการปวดเป็นความทรมานจากการเจ็บป่วยที่ทุกๆ คนต้องเคยประสบ ไม่ว่าจะปวดมาก ปวดน้อย ปวดนิดหน่อย หรือปวดเรื้อรัง หากลองได้เกิดความปวดขึ้นมาแล้ว ผู่ป่วยทุกคนย่อมอยู่ไม่เป็นสุข และต้องพยายามหาทางลดความปวดนั้นให้หายไปโดยเร็ว และหนทางหนึ่งในการลดปวดที่เรามักใช้กันอยู่เป็นประจำก็คิอ การรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล เพราะสะดวก กินง่าย และราคาไม่แพง แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจเกิดการสะสมของสารเคมีตกค้าง ที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว.
ความปวดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้านั้น ในทางการแพทย์แผนโบราณก็สามารถใช้สมุนไพรลดความเจ็บปวดได้เช่นกัน วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราควรจะหันมาให้ความสนใจ เพราะว่าเป็นวิธีธรรมชาติที่ให้ผลข้างเคียงน้อย อีกทั้งสมุนไพรบางตัวก็เป็นของหาง่ายที่มีอยู่ในครัวเรือน และเราก็กินกันอยู่เป็นประจำ หากคุณเคยรู้รสชาติของความเจ็บปวดมาแล้ว วันนี้มาลองรู้จักรสชาติแห่งความสุขจากการใช้สมุนไพรกันดูบ้าง แล้วคุณจะรู้ว่ายาจากธรรมชาติดีอย่างไรกับ “จัดให้.. ชุดสมุนไพรแก้ปวด”.




                          1.      ปวดศีรษะ

             นำใบมะยมแก่จำนวน กำมือ ต้มกับน้ำสะอาดตามต้องการ ใส่น้ำตาลกรวด ไม่ต้องให้หวานมาก ต้มจนเดือดแล้วดื่มต่างน้ำขณะอุ่นครั้งละ แก้ว เช้า-เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และก่อนนอน ทำดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้อาการปวดศีรษะทุเลาลง และหายในที่สุด.


                                        
                     
                                                      2.      ปวดตา    
                             
                   เอาผักบุ้งสด 1 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำใส่ถ้วยไว้ ใช้หยอดตาทั้งสองข้าง.









3.      ปวดหู


                เอาหัวกระเทียม 3-4 กลีบ ปอกเปลือก ใช้ช้อนบี้จนละเอียดเป็นน้ำ เอาสำลีสะอาดชุบน้ำกระเทียมบีบีลงไปในถ้วยสะอาด 5-6 หยด จากนั้นเอาสำลีออก ก้อนหนึ่งจุ่มน้ำสะอาดบีบลงไปในน้ำคั้นกระเทียม 15-25 หยด แล้วเอาสำลีอีกก้อนคนให้เข้ากัน เอาน้ำที่ได้หยอดหู โดยเอาสำลีชุบบีบใส่หู ครั้งละ 2-3 หยด วันละ 2-3 ครั้ง

                                                             




4.      ปวดจมูก


                  ใช้หัวขิงแห้ง หัวดองดึง หัวอุตพิต หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวบุกรอ หัวกลอย ลูกกระวาน หนักอย่างละ 2 บาท เมล็ดพริกไทยหนัก 16 บาท ยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำร้อนกินครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ให้กินขณะที่น้ำยังร้อนๆ อยู่ อย่าให้น้ำอุ่นหรือเย็น กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ 1 ชั่วโมง.






5.      ปวดในช่องปาก (เหงือก)

นำสีเสียดเทศกับลูกเบญกานี
 ฝนกับน้ำแล้วนำมาทาที่เหงือก.






                                             

                                          6.      ปวดฟัน

               เคี้ยวก้านสด (ก้านดอกช่อ) มาตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อให้น้ำจากก้านดอกช่อซึมเข้าไปในฟันที่ปวด จะทำให้รู้สึกชา ระงับอาการปวดฟันได้ดี ถ้าฟันซี่ที่ปวดผุ เป็นรู ใช้วิธีตำหรือขยี้ก้านดอกช่อให้เละ แล้วนำไปอุดฟันซี่ที่ปวด สักครู่จะรู้สึกชาและหายปวดได้.


  

                                                        7.      ปวดคางทูม

             ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสดๆ 10-15 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้น้ำยาทาบริเวณที่บวม อาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปในเวลา 30 นาที.








8.      ปวดคอ

ใช้หอมหัวใหญ่ 1 หัว ตำผสมกับน้ำแล้วนำมาพอกตรงที่ปวด 
หรือบริเวณหลังต้นคอ.





                      9.      ปวดผิวหนัง

ให้เลือกใบล่างสุดของต้นมาใช้ก่อนล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียว และล้างน้ำยาสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแล หรือขูดเอาวุ้นใส่ที่แผล แล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละ ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย.







10.  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (เอว/แขน/ขา)

ใช้ใบพลับพลึง เตยหอม และเพชรสังฆาต ตำรวมกันให้ละเอียด
 แล้วนำไปพอกตรงที่มีอาการ.









11.  ปวดหลัง


นำลูกใต้ใบทั้งห้า (ต้น ใบ ราก ดอก ผล) ล้างน้ำให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชาเป็นประจำ.





12.  ปวดหน้าอก

ใช้ใบพลูอังไฟอ่อนๆ แล้วนำไปวางนาบที่เต้านมซ้อนกันหลายๆ ใบ
 เปลี่ยนบ่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกดี.







13.  ปวดท้อง

นำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สด 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มพอเดือด ดื่มหรือปรุงอาหารรับประทานได้.










14.  ปวดประจำเดือน

ใช้ตะไคร้ 5 ต้น ทุบแล้วต้มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 3 ครั้ง.









15.  ปวดก้น


ใช้มะขามเปียก กระชาย และเกลือ แล้วต้มรับประทานก่อนนอน.








 16.  ปวดเท้า
  
                ใช้เหง้าประมาณ เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเค้าแล้วนำมาห่อเป้นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อนประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำ เช้า เย็น จนกว่าจะหาย.

       







17.  ปวดเล็บ

นำน้ำมะกรูดทาบ่อยๆ.















อ้างอิง.
อารีย์ โอบอ้อมรัก. ชุดให้ สมุนไพรแก้ปวด. กรุงเทพฯ : สุภัชนิญค์ พริ้นติ้ง.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมุนไพรแก้ปวด

0 ความคิดเห็น

อาการปวดเป็นความทรมานจากการเจ็บป่วยที่ทุกๆ คนต้องเคยประสบ ไม่ว่าจะปวดมาก ปวดน้อย ปวดนิดหน่อย หรือปวดเรื้อรัง หากลองได้เกิดความปวดขึ้นมาแล้ว ผู่ป่วยทุกคนย่อมอยู่ไม่เป็นสุข และต้องพยายามหาทางลดความปวดนั้นให้หายไปโดยเร็ว และหนทางหนึ่งในการลดปวดที่เรามักใช้กันอยู่เป็นประจำก็คิอ การรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล เพราะสะดวก กินง่าย และราคาไม่แพง แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจเกิดการสะสมของสารเคมีตกค้าง ที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว.
ความปวดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้านั้น ในทางการแพทย์แผนโบราณก็สามารถใช้สมุนไพรลดความเจ็บปวดได้เช่นกัน วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราควรจะหันมาให้ความสนใจ เพราะว่าเป็นวิธีธรรมชาติที่ให้ผลข้างเคียงน้อย อีกทั้งสมุนไพรบางตัวก็เป็นของหาง่ายที่มีอยู่ในครัวเรือน และเราก็กินกันอยู่เป็นประจำ หากคุณเคยรู้รสชาติของความเจ็บปวดมาแล้ว วันนี้มาลองรู้จักรสชาติแห่งความสุขจากการใช้สมุนไพรกันดูบ้าง แล้วคุณจะรู้ว่ายาจากธรรมชาติดีอย่างไรกับ “จัดให้.. ชุดสมุนไพรแก้ปวด”.




                          1.      ปวดศีรษะ

             นำใบมะยมแก่จำนวน กำมือ ต้มกับน้ำสะอาดตามต้องการ ใส่น้ำตาลกรวด ไม่ต้องให้หวานมาก ต้มจนเดือดแล้วดื่มต่างน้ำขณะอุ่นครั้งละ แก้ว เช้า-เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และก่อนนอน ทำดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้อาการปวดศีรษะทุเลาลง และหายในที่สุด.


                                        
                     
                                                      2.      ปวดตา    
                             
                   เอาผักบุ้งสด 1 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำใส่ถ้วยไว้ ใช้หยอดตาทั้งสองข้าง.









3.      ปวดหู


                เอาหัวกระเทียม 3-4 กลีบ ปอกเปลือก ใช้ช้อนบี้จนละเอียดเป็นน้ำ เอาสำลีสะอาดชุบน้ำกระเทียมบีบีลงไปในถ้วยสะอาด 5-6 หยด จากนั้นเอาสำลีออก ก้อนหนึ่งจุ่มน้ำสะอาดบีบลงไปในน้ำคั้นกระเทียม 15-25 หยด แล้วเอาสำลีอีกก้อนคนให้เข้ากัน เอาน้ำที่ได้หยอดหู โดยเอาสำลีชุบบีบใส่หู ครั้งละ 2-3 หยด วันละ 2-3 ครั้ง

                                                             




4.      ปวดจมูก


                  ใช้หัวขิงแห้ง หัวดองดึง หัวอุตพิต หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวบุกรอ หัวกลอย ลูกกระวาน หนักอย่างละ 2 บาท เมล็ดพริกไทยหนัก 16 บาท ยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำร้อนกินครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ให้กินขณะที่น้ำยังร้อนๆ อยู่ อย่าให้น้ำอุ่นหรือเย็น กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ 1 ชั่วโมง.






5.      ปวดในช่องปาก (เหงือก)

นำสีเสียดเทศกับลูกเบญกานี
 ฝนกับน้ำแล้วนำมาทาที่เหงือก.






                                             

                                          6.      ปวดฟัน

               เคี้ยวก้านสด (ก้านดอกช่อ) มาตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อให้น้ำจากก้านดอกช่อซึมเข้าไปในฟันที่ปวด จะทำให้รู้สึกชา ระงับอาการปวดฟันได้ดี ถ้าฟันซี่ที่ปวดผุ เป็นรู ใช้วิธีตำหรือขยี้ก้านดอกช่อให้เละ แล้วนำไปอุดฟันซี่ที่ปวด สักครู่จะรู้สึกชาและหายปวดได้.


  

                                                        7.      ปวดคางทูม

             ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสดๆ 10-15 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้น้ำยาทาบริเวณที่บวม อาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปในเวลา 30 นาที.








8.      ปวดคอ

ใช้หอมหัวใหญ่ 1 หัว ตำผสมกับน้ำแล้วนำมาพอกตรงที่ปวด 
หรือบริเวณหลังต้นคอ.





                      9.      ปวดผิวหนัง

ให้เลือกใบล่างสุดของต้นมาใช้ก่อนล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียว และล้างน้ำยาสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแล หรือขูดเอาวุ้นใส่ที่แผล แล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้นใหม่วันละ ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย.







10.  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (เอว/แขน/ขา)

ใช้ใบพลับพลึง เตยหอม และเพชรสังฆาต ตำรวมกันให้ละเอียด
 แล้วนำไปพอกตรงที่มีอาการ.









11.  ปวดหลัง


นำลูกใต้ใบทั้งห้า (ต้น ใบ ราก ดอก ผล) ล้างน้ำให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง ใส่หม้อดินต้ม ดื่มน้ำยาต่างน้ำชาเป็นประจำ.





12.  ปวดหน้าอก

ใช้ใบพลูอังไฟอ่อนๆ แล้วนำไปวางนาบที่เต้านมซ้อนกันหลายๆ ใบ
 เปลี่ยนบ่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกดี.







13.  ปวดท้อง

นำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สด 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มพอเดือด ดื่มหรือปรุงอาหารรับประทานได้.










14.  ปวดประจำเดือน

ใช้ตะไคร้ 5 ต้น ทุบแล้วต้มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 3 ครั้ง.









15.  ปวดก้น


ใช้มะขามเปียก กระชาย และเกลือ แล้วต้มรับประทานก่อนนอน.








 16.  ปวดเท้า
  
                ใช้เหง้าประมาณ เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเค้าแล้วนำมาห่อเป้นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อนประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำ เช้า เย็น จนกว่าจะหาย.

       







17.  ปวดเล็บ

นำน้ำมะกรูดทาบ่อยๆ.















อ้างอิง.
อารีย์ โอบอ้อมรัก. ชุดให้ สมุนไพรแก้ปวด. กรุงเทพฯ : สุภัชนิญค์ พริ้นติ้ง.

About

Popular Posts

ผู้ติดตาม