ผัก-ผลไม้ สมุนไพรพื้นบ้าน ๔ ภาค วัคซีนป้องกันโรคให้คนทั้งชาติปลอดภัย



โลกยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยสิ่งมีพิษบั่นทอนสุขภาพผู้คนยากจะเลี่ยง  การใช้ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความเสี่ยงต่อโรคภัยนานานัปการ  โดยเฉพาะอย่ายิ่งในเรื่องของอาหารการกิน  ที่กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะโรคร้ายลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน
                แต่อย่างไรก็ตาม  ประเทศไทยเรานั้นล้วนเต็มไปด้วยพืชผักพื้นบ้านในแต่ละภาค  ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารสร้างเสริมสุขภาพที่ดีได้เป็นอย่างดี  อุดมไปด้วยสรรพคุณแห่งความเป็นยารักษาโรคที่ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย  ทั้งยังเป็นพืชผักที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นในราคาที่ไม่มากอีกด้วย  กระทั่งต่างชาติยังหันมาให้ความสนใจกับพืชผักท้องถิ่นในเมืองไทย  จนนำไปต่อยอดเป็นอาหารต้านโรคกันอย่างกว้างขวาง
                เรียนรู้พืชผักท้องถิ่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ประกอบอาหารต้านโรคในปัจจุบัน  ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย  ใส่ใจในสุขภาพ  สู้สังคมอุดมมลพิษอย่างในปัจจุบันได้อย่างแข็งแรงต่อไป

กลุ่มผักภาคเหนือ
ผักเชียงดา  ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือผู้ฆ่าน้ำตาล
                ผักเชียงดา ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า “เซ่งดา”  ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น “ผักวุ้น” “ม้วนไก่”  หรือ  “ผักเซ็ง”   เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นในป่าแถบภาคเหนือของไทย  แต่ผักเชียงดาที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่ามักจะมีรสขมกว่า  ใบใหญ่กว่า  และสีของใบจะเข้มน้อยกว่าพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นผักกินกันโดยปรกติ  แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางคนที่ยังกินผักเชียงดาที่เกิดตามป่าอยู่บ้าง ทั้งนี้ผักเชียงดายังพบในอินเดีย  จีน  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย  ศรีลังกา  เวียดนาม  และแอฟริกา
                ผักเชียงดามีลักษณะทางพฤกษาศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยได้ยาว 5-10 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว  ออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปไข่กลับ  ปลายใบแหลม  โคนใบมน  เนื้อใบค่อนข้างหนา  สีเขียวเข้มเป็นมัน  ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก  ดอกเป็นสีเขียวอมขาว  เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาน 5-6 มิลลิเมตร  ออกดอกทั้งปี  ขยายพันธุ์ด้วยเถา  พบขึ้นตามธรรมชาติในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ  มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ  “ผักจินดา”
                ผักเชียงดาสามารถประกอบอาหารได้ทั้งผัดและแกง  รวมกับผักชนิดอื่น  เพราะผักเชียงดาจะทำให้รสชาติของผักอื่นๆ ดีขึ้น  นอกจากนี้ชาวเหนือยังใช้ผักเชียงดาพอกกระหม่อมเพื่อรักษาไข้หวัด  และยังใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาแก้ไข้ด้วย
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                จากข้อมูลของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรให้ข้อมูลไว้ว่า  ภาษาฮินดูเรียกผักเชียงดาว่า “Gurmar”  แปลว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล  เพราะว่าถ้าลองเคี้ยวใบแก่ของผักเชียงดา  แล้วลองชิมน้ำตาทรายเราแทบจะไม่รู้รสหวานของน้ำตาลเลย
                นอกจากนี้ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง  ในยอดอ่อนและใบอ่อน  มีวิตามินซี  เบตาแคโรทีน  และสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง  นอกจากนี้ผักเชียงดายังมีกรดจิมนีมิก (Gymnemic Acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส  เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป  ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย (กระแสเลือด)ได้ดีกว่าน้ำตาล  มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง
                นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว  ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน (สารที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น  ซึ่งกล่าวกันว่าด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้  จึงทำให้ผักเชียงดาสามารถรดน้ำตาลในเลือดได้  และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคเบาหวานที่ชื่อ  ไกลเบนคลาไมด์  เสียอีก

เมนูแนะนำ  แกงผักเชียงดาปลาแห้ง
                ด้วยความที่เป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ มากมาย  จึงทำให้หลายคนนิยมนำผักเชียงดามาประกอบอาหารรับประทานในชีวิตประจำวัน  ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายเมนูตามต้องการ  เช่น
เครื่องปรุง     ปลาช่อนย่างหรือปลาช่อนแห่ง  1  ตัว
                     ผักเชียงดา   2  ขีด
                     มะเขือเทศพื้นเมือง  2   ขีด
เครื่องแกง      พริกแห้ง   50  กรัม          หอมแดง  หัว                     กระเทียม   2   หัว
                      ตะไคร้   ช้อนโต๊ะ      กะปิ   ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ      โขลกพริกแห้ง  หอมแดง  กระเทียม  คะไคร้  ให้ละเอียด  แล้วเติมกะปิ  นำปลาช่อนมาแกะแล้วพักไว้  ต้มน้ำให้เดือด  และใส่เครื่องแกงที่โขลกเรียบร้อยแล้ว  ใส่มะเขือเทศพื้นเมือง  ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง  จากนนั้นใส่ผักเชียงดา  ปรุงรสตามใจชอบ
                กรณีที่ใช้ปลาช่อนแห้ง  ให้ต้มปลาช่อนแห้งให้เนื้ออ่อนนุ่มก่อนแล้วจึงใส่เครื่องแกง  และมะเขือเทศพื้นเมือง  ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง  จากนนั้นใส่ผักเชียงดาปรุงรสตามใจชอบ
ประโยชน์ทางอาหาร “แกงผักเชียงดา”
                ตะไคร้  มีสรรพคุณช่วยขับลม  บรรเทาอาการท้องอืด  แก้ไข้  ปวดกล้ามเนื้อ  ปัสสาวะขัด  และเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด  เช่น  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เหล็ก  และวิตามินเอ
                หอมแดง   สรรพคุณช่วยขับลม  แก้ปวดท้อง  แก้หวัด  คัดจมูก
                กระเทียม   สรรพคุณช่วยลดคอเลสเตอรอล  กระเทียมมีสารอาหารที่สำคัญๆ ได้แก่  โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และเหล็ก  วิตามินบี  วิตามินซี  ไนอาซีน  มีฤทธิ์ทางยา  เป็นยาฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องปากระยะแรก

กลุ่มผักภาคใต้
ผักเหลียง  บำรุงกระดูก
                ชื่อท้องถิ่น  เขลียง  เหลียง  เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) ผักกะเหรี่ยง(ชุมพร)  ผักเมี่ยง  เหมียง (พังงา)
                ผักเหลียงเป็นต้นไม้พุ่ม  ขนาดความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร  เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงมาได้โดยลำต้นไม่หัก  มีผิวเปลือกเรียบ  เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ใบผักเหลียงมีลักษณะคล้ายยางพารา  ในออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียนตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลมมีขนาดกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร  ก้านใบยาวประมาน 1-2 เซนติเมตร  เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง  ใบมีสีเขียวเป็นมัน  แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด  ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน  รับประมานได้ทั้งดิบและสุก  ใบผักเหลียงใช้รับประทานสด  และประกอบเป็นอาหาร  เช่น  แกงเลียง  ต้มกะทิ  ใช้ห่อเมี่ยงคำ  ผัดวุ้นเส้น  แกงไตปลา  ผัดผัก  และอีกหลายชนิด


ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบตาแคโรทีนที่ต้องถือว่าเป็นสารต้านออกซิเดชันที่สำคัญ  ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย  มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า  ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้านให้เบตาแคโรทีน สูงถึง 1,089  ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล  สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า  มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า  ผักเหลียงมีเบตาแคโรทีนคือแครอท  ซึ่งไม่ได้มีเบตาแคโรทีนมากไปกว่าผผักเหลียงเลย  เบตาแคโรทีนเป็นสารสีส้ม  แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียง  ก็เพราะมันถูกสีเขียวของใบผักปกปิดไว้จนหมด  กินผักเหลียงจึงให้ทั้งคุณค่าของเบตาแคโรทีน  และสารพฤกษเคมีจากใบผัก  และผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย
เมนูแนะนำ  ผักเหลียงต้มกะทิ
เครื่องปรุง       หัวกะทิ  1  ถ้วย (มะพร้าวขูด  500  กรัม)       หอมแดง   3  หัวเล็ก
                        ผักเหลียง  (เอาแต่ใบอ่อน)  กำ                   กะปิดี   1   ช้อนชา   
                        พริกไทย     9  เม็ด                                          กุ้งแห้งชนิดจืด   ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ      1.  ล้างผักเหลียงให้สะอาด  ผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
               2. โขลกพริกไทยเม็ด  หอมแดง  กะปิดี  กุ้งแห้ง  รวมกันให้ละเอียด
                3. นำหัวกะทิขึ้นตั้งไฟ  ใช้ไฟอ่อนๆอย่าให้กะทิแตกมันมาก  ใส่เครื่องที่โขลกลงไปในหม้อหัวกะทิ  เติมน้ำตาลทรายนิดหน่อย  ใส่ผักเหลียงสักครู่ก็เอาขึ้น  พร้อมรับประทาน
มันปู
                มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่สูงประมาน 15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวก้านใบสั้นประมาณ เซนติเมตร  ออกแบบสลับ  ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ขอบใบเขียว  ปลายใบแหลม  โคนใบมัน ใบกว้าง 3-5.5  เซนติเมตร  ใบยาว 7-14  เซนติเมตร  หน้าใบสีเขียว  ออกมันเล็กน้อย  หลังใบเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ  ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีเขียว  หรือสีเขียวอมแดง  ดอกเป็นช่อ   ดอกช่อขนาดเล็ก
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                มันปูใช้เป็นยาและอาหาร  รากลำต้นมีสรรพคุณแก้ร้อนในเป็นยาบำรุง  ยอดอ่อนใช้เป็นผักรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก  หรือรับประทานกับขนมจีน  มันปูยอดสีขาว  รสมันอร่อย  ถ้ามันปูที่ยอดสีแดงจะมีรสผาด  รากและลำต้นแก้ร้อนใน  เป็นยาบำรุง  ใบช่วยเจริญอาหาร  ใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้  ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนเย็น

เมนูแนะนำ
                ชาวใต้นิยมใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก  หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน  ส่วนที่นำมาใช้คือใบและยอดอ่อน
กลุ่มผักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผักแขยง  ขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง
                ชื่ออื่น : กะออม กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง (อุบลราชธานี)  ผักพา (เหนือ)
                ผักแขยงเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร  ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่นทั้งต้น มีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน ใบเดียวเรียงตรงข้ามกันทุกข้อตลอดลำต้น  รูปขอบขนานแกมใบหอก  รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี  กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย  ปลายใบแหลม  โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ  ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง  ออกพร้อมกันทั้งต้น  ดอกย่อย 2-10 ดอก  ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็นสี่กลีบ  กลีบดอกสีม่วง  ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน  ผลแห้งแตกได้รูปกระสวย  เมล็ดรูปร่างกลมรี  สีน้ำตาลดำขนาดเล็กมาก  ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย  เป็นวัชพืชในนาข้าว  ชาวอีสานใช้ใส่ในแกง  ต้มปลา อ่อมต่างๆ  มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว

ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ตำรายาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลม เป็นยาระบายท้อง  น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ (นำต้นสด 15-30 กรัม มาต้มน้ำกิน) แก้คัน ฝี และกลาก  แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษงู ให้นำต้นสด ประมาน  15  กรัม ตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด 30  กรัม นำไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร  คั้นแล้วทานน้ำ ส่วนกากพอกรอบๆแผล  อย่าพอกบนแผล  อีกทั้งต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา  ต้นและใบของผักแขยงเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (Hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.30
เมนูแนะนำ   แกงอ่อมกบ
เครื่องปรุง      กบ (ล้างทำความสะอาดแล้ว  หั่นเป็นชิ้นๆ)   ต้นหอม  ผักแขยง  ผักชีลาว ใบชะพลู ใบแมงลัก 
                       หอมแดง  ตะไคร้  พริกสด  พริกแห้ง มะเขือเปราะ  ฟักทอง  ข้าวโพดอ่อน  ถั่วฝักยาว 
                       ยอดฟักทอง  น้ำปลาร้า  น้ำปลา  ข้าวคั่ว
วิธีทำ     1. นำมะเขือเปราะ  ฟักทอง  ข้าวโพดอ่อน  หั่นเป็นลูกเต๋า พอคำ  ต้มน้ำให้เดือด
                2. นำหอมแดง ตะไคร้  พริกสด-พริกแห้ง  ตำรวมกันหยาบๆ
                3. จากต้นน้ำใส่เครื่องแกงที่ตำไว้  ใส่มะเขือเปราะ  ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และผักต่างๆ
                4. น้ำปลาร้า  น้ำปลา  ข้าวคั่ว กบ ลงไป  ชิมรสตามชอบ
                5. เมื่อผักสุกดีก็ใส่ต้นหอม  ผักแขยง ผักชีลาว ใบชะพลู  ใบแมงลัก ลงไปเสิร์ฟร้อนๆ
กลุ่มผักภาคกลาง
ตำลึง รักษาเบาหวาน
                ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง และ แม่ฮ่องสอน) ตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
                ลักษณะทั่วไปของตำลึง  ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง  ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ  ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่  มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว  แยกเพศอยู่คนละต้น  ดอกออกตรงที่ซอกใบ  ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน  เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่อชอบของนกนานาชนิด
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบตาแคโรทีน  ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง  และหัวใจขาดเลือด  มีแคลเซียมที่จะช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และยังมีฟอสฟอรัส  เหล็ก ไนอาซีน วิตามินซี และอื่นๆ นอกจากนี้  จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล  พบว่าตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย  สำหรับตำรายาแผนโบราณ  ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้  แก้อาการแพ้อักเสบ  แมลงมีพิษกัดต่อย  แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดง และตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
                ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน  แก้ไข้ทุกชนิด  ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก  แก้ฝีต่างๆ แก้บวม แก้พิษร้อนภายใน  แก้พิษแมงป่องหรือตะขาบต่อย
                ต้น : กำจัดกลิ่นตัว  น้ำจากต้นรักษาเบาหวาน
                เปลือก : เป็นยาถ่าย
                เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา  แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา  ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยา โรคผิวหนัง  แก้เบาหวาน
                ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง  รักษามะเร็งเพลิง  แก้ท้องอืด  แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด  รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย  ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว  แก้ไข้  ดับพิษร้อน ถอนพิษ  ทั้งปวง แก้ปวดแสบร้อน  ถอนพิษคูน  แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้หวัด  แก้พิษกาฬ แก้เริม  แก้งูสวัด
                ผล : แก้ฝีแดง
                ส่วนประกอบทั้งหมดของตำลึงสามารถรักษาโรคผิวหนัง  รักษาอาการอักเสบของหลอดลม  รักษาเบาหวาน
เมนูแนะนำ  ตำลึงผัดหนำเลี้ยบ
เครื่องปรุง     ผักตำลึง 1-2 กำมือ  หรือแล้วแต่ชอบ       น้ำปลา  น้ำตาลทราย
                      หนำเลี้ยบ  7 ผล                                       เนื้อหมูสับ  ขีด
                      กระเทียมสับ  1   ช้อนโต๊ะ                      น้ำมันพืช  ¼  ถ้วย
วิธีทำ     1. เด็ดตำลึงให้ได้ปริมาณพอเหมาะ
                2. จากนั้นบี้เอาเม็ดหนำเลี้ยบออก
                3. สับเนื้อหนำเลี้ยบรวมกับเนื้อหมูสับจนละเอียดเข้าหากัน
                4. นำกระทะตั้งไฟ  เจียวกระเทียมสับกับน้ำมันจนเหลืองหอม
                5. ใส่หมูสับผสมหนำเลี้ยบแล้วลงไปผัดจนสุก
                6. ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลทรายตามความชอบ  จากนั้นใส่ตำลึงลงไปผัดพอสุกตักใส่จานหร้อมเสิร์ฟ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผัก-ผลไม้ สมุนไพรพื้นบ้าน ๔ ภาค วัคซีนป้องกันโรคให้คนทั้งชาติปลอดภัย

0 ความคิดเห็น


โลกยุคปัจจุบันเต็มไปด้วยสิ่งมีพิษบั่นทอนสุขภาพผู้คนยากจะเลี่ยง  การใช้ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความเสี่ยงต่อโรคภัยนานานัปการ  โดยเฉพาะอย่ายิ่งในเรื่องของอาหารการกิน  ที่กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะโรคร้ายลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน
                แต่อย่างไรก็ตาม  ประเทศไทยเรานั้นล้วนเต็มไปด้วยพืชผักพื้นบ้านในแต่ละภาค  ซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารสร้างเสริมสุขภาพที่ดีได้เป็นอย่างดี  อุดมไปด้วยสรรพคุณแห่งความเป็นยารักษาโรคที่ไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย  ทั้งยังเป็นพืชผักที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นในราคาที่ไม่มากอีกด้วย  กระทั่งต่างชาติยังหันมาให้ความสนใจกับพืชผักท้องถิ่นในเมืองไทย  จนนำไปต่อยอดเป็นอาหารต้านโรคกันอย่างกว้างขวาง
                เรียนรู้พืชผักท้องถิ่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ประกอบอาหารต้านโรคในปัจจุบัน  ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย  ใส่ใจในสุขภาพ  สู้สังคมอุดมมลพิษอย่างในปัจจุบันได้อย่างแข็งแรงต่อไป

กลุ่มผักภาคเหนือ
ผักเชียงดา  ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคเหนือผู้ฆ่าน้ำตาล
                ผักเชียงดา ภาษาเมืองเหนือเรียกว่า “เซ่งดา”  ส่วนในภูมิภาคอื่นๆ จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็น “ผักวุ้น” “ม้วนไก่”  หรือ  “ผักเซ็ง”   เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นในป่าแถบภาคเหนือของไทย  แต่ผักเชียงดาที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่ามักจะมีรสขมกว่า  ใบใหญ่กว่า  และสีของใบจะเข้มน้อยกว่าพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นผักกินกันโดยปรกติ  แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางคนที่ยังกินผักเชียงดาที่เกิดตามป่าอยู่บ้าง ทั้งนี้ผักเชียงดายังพบในอินเดีย  จีน  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย  ศรีลังกา  เวียดนาม  และแอฟริกา
                ผักเชียงดามีลักษณะทางพฤกษาศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยได้ยาว 5-10 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว  ออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปไข่กลับ  ปลายใบแหลม  โคนใบมน  เนื้อใบค่อนข้างหนา  สีเขียวเข้มเป็นมัน  ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก  ดอกเป็นสีเขียวอมขาว  เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาน 5-6 มิลลิเมตร  ออกดอกทั้งปี  ขยายพันธุ์ด้วยเถา  พบขึ้นตามธรรมชาติในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ  มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ  “ผักจินดา”
                ผักเชียงดาสามารถประกอบอาหารได้ทั้งผัดและแกง  รวมกับผักชนิดอื่น  เพราะผักเชียงดาจะทำให้รสชาติของผักอื่นๆ ดีขึ้น  นอกจากนี้ชาวเหนือยังใช้ผักเชียงดาพอกกระหม่อมเพื่อรักษาไข้หวัด  และยังใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาแก้ไข้ด้วย
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                จากข้อมูลของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรให้ข้อมูลไว้ว่า  ภาษาฮินดูเรียกผักเชียงดาว่า “Gurmar”  แปลว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล  เพราะว่าถ้าลองเคี้ยวใบแก่ของผักเชียงดา  แล้วลองชิมน้ำตาทรายเราแทบจะไม่รู้รสหวานของน้ำตาลเลย
                นอกจากนี้ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง  ในยอดอ่อนและใบอ่อน  มีวิตามินซี  เบตาแคโรทีน  และสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง  นอกจากนี้ผักเชียงดายังมีกรดจิมนีมิก (Gymnemic Acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส  เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป  ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย (กระแสเลือด)ได้ดีกว่าน้ำตาล  มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง
                นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว  ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน (สารที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น  ซึ่งกล่าวกันว่าด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้  จึงทำให้ผักเชียงดาสามารถรดน้ำตาลในเลือดได้  และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคเบาหวานที่ชื่อ  ไกลเบนคลาไมด์  เสียอีก

เมนูแนะนำ  แกงผักเชียงดาปลาแห้ง
                ด้วยความที่เป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ มากมาย  จึงทำให้หลายคนนิยมนำผักเชียงดามาประกอบอาหารรับประทานในชีวิตประจำวัน  ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายเมนูตามต้องการ  เช่น
เครื่องปรุง     ปลาช่อนย่างหรือปลาช่อนแห่ง  1  ตัว
                     ผักเชียงดา   2  ขีด
                     มะเขือเทศพื้นเมือง  2   ขีด
เครื่องแกง      พริกแห้ง   50  กรัม          หอมแดง  หัว                     กระเทียม   2   หัว
                      ตะไคร้   ช้อนโต๊ะ      กะปิ   ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ      โขลกพริกแห้ง  หอมแดง  กระเทียม  คะไคร้  ให้ละเอียด  แล้วเติมกะปิ  นำปลาช่อนมาแกะแล้วพักไว้  ต้มน้ำให้เดือด  และใส่เครื่องแกงที่โขลกเรียบร้อยแล้ว  ใส่มะเขือเทศพื้นเมือง  ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง  จากนนั้นใส่ผักเชียงดา  ปรุงรสตามใจชอบ
                กรณีที่ใช้ปลาช่อนแห้ง  ให้ต้มปลาช่อนแห้งให้เนื้ออ่อนนุ่มก่อนแล้วจึงใส่เครื่องแกง  และมะเขือเทศพื้นเมือง  ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง  จากนนั้นใส่ผักเชียงดาปรุงรสตามใจชอบ
ประโยชน์ทางอาหาร “แกงผักเชียงดา”
                ตะไคร้  มีสรรพคุณช่วยขับลม  บรรเทาอาการท้องอืด  แก้ไข้  ปวดกล้ามเนื้อ  ปัสสาวะขัด  และเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด  เช่น  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เหล็ก  และวิตามินเอ
                หอมแดง   สรรพคุณช่วยขับลม  แก้ปวดท้อง  แก้หวัด  คัดจมูก
                กระเทียม   สรรพคุณช่วยลดคอเลสเตอรอล  กระเทียมมีสารอาหารที่สำคัญๆ ได้แก่  โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และเหล็ก  วิตามินบี  วิตามินซี  ไนอาซีน  มีฤทธิ์ทางยา  เป็นยาฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องปากระยะแรก

กลุ่มผักภาคใต้
ผักเหลียง  บำรุงกระดูก
                ชื่อท้องถิ่น  เขลียง  เหลียง  เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) ผักกะเหรี่ยง(ชุมพร)  ผักเมี่ยง  เหมียง (พังงา)
                ผักเหลียงเป็นต้นไม้พุ่ม  ขนาดความสูงของลำต้นประมาณ 2-5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร  เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงมาได้โดยลำต้นไม่หัก  มีผิวเปลือกเรียบ  เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ใบผักเหลียงมีลักษณะคล้ายยางพารา  ในออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียนตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลมมีขนาดกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร  ก้านใบยาวประมาน 1-2 เซนติเมตร  เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง  ใบมีสีเขียวเป็นมัน  แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด  ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน  รับประมานได้ทั้งดิบและสุก  ใบผักเหลียงใช้รับประทานสด  และประกอบเป็นอาหาร  เช่น  แกงเลียง  ต้มกะทิ  ใช้ห่อเมี่ยงคำ  ผัดวุ้นเส้น  แกงไตปลา  ผัดผัก  และอีกหลายชนิด


ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบตาแคโรทีนที่ต้องถือว่าเป็นสารต้านออกซิเดชันที่สำคัญ  ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย  มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า  ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้านให้เบตาแคโรทีน สูงถึง 1,089  ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล  สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า  มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า  ผักเหลียงมีเบตาแคโรทีนคือแครอท  ซึ่งไม่ได้มีเบตาแคโรทีนมากไปกว่าผผักเหลียงเลย  เบตาแคโรทีนเป็นสารสีส้ม  แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียง  ก็เพราะมันถูกสีเขียวของใบผักปกปิดไว้จนหมด  กินผักเหลียงจึงให้ทั้งคุณค่าของเบตาแคโรทีน  และสารพฤกษเคมีจากใบผัก  และผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกอีกด้วย
เมนูแนะนำ  ผักเหลียงต้มกะทิ
เครื่องปรุง       หัวกะทิ  1  ถ้วย (มะพร้าวขูด  500  กรัม)       หอมแดง   3  หัวเล็ก
                        ผักเหลียง  (เอาแต่ใบอ่อน)  กำ                   กะปิดี   1   ช้อนชา   
                        พริกไทย     9  เม็ด                                          กุ้งแห้งชนิดจืด   ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ      1.  ล้างผักเหลียงให้สะอาด  ผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
               2. โขลกพริกไทยเม็ด  หอมแดง  กะปิดี  กุ้งแห้ง  รวมกันให้ละเอียด
                3. นำหัวกะทิขึ้นตั้งไฟ  ใช้ไฟอ่อนๆอย่าให้กะทิแตกมันมาก  ใส่เครื่องที่โขลกลงไปในหม้อหัวกะทิ  เติมน้ำตาลทรายนิดหน่อย  ใส่ผักเหลียงสักครู่ก็เอาขึ้น  พร้อมรับประทาน
มันปู
                มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่สูงประมาน 15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวก้านใบสั้นประมาณ เซนติเมตร  ออกแบบสลับ  ใบมีรูปร่างเป็นรูปไข่ขอบใบเขียว  ปลายใบแหลม  โคนใบมัน ใบกว้าง 3-5.5  เซนติเมตร  ใบยาว 7-14  เซนติเมตร  หน้าใบสีเขียว  ออกมันเล็กน้อย  หลังใบเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ  ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีเขียว  หรือสีเขียวอมแดง  ดอกเป็นช่อ   ดอกช่อขนาดเล็ก
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                มันปูใช้เป็นยาและอาหาร  รากลำต้นมีสรรพคุณแก้ร้อนในเป็นยาบำรุง  ยอดอ่อนใช้เป็นผักรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก  หรือรับประทานกับขนมจีน  มันปูยอดสีขาว  รสมันอร่อย  ถ้ามันปูที่ยอดสีแดงจะมีรสผาด  รากและลำต้นแก้ร้อนใน  เป็นยาบำรุง  ใบช่วยเจริญอาหาร  ใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะลำไส้  ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนเย็น

เมนูแนะนำ
                ชาวใต้นิยมใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก  หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน  ส่วนที่นำมาใช้คือใบและยอดอ่อน
กลุ่มผักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผักแขยง  ขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง
                ชื่ออื่น : กะออม กะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง (อุบลราชธานี)  ผักพา (เหนือ)
                ผักแขยงเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร  ลำต้นเรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่นทั้งต้น มีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน ใบเดียวเรียงตรงข้ามกันทุกข้อตลอดลำต้น  รูปขอบขนานแกมใบหอก  รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี  กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย  ปลายใบแหลม  โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ  ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง  ออกพร้อมกันทั้งต้น  ดอกย่อย 2-10 ดอก  ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็นสี่กลีบ  กลีบดอกสีม่วง  ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน  ผลแห้งแตกได้รูปกระสวย  เมล็ดรูปร่างกลมรี  สีน้ำตาลดำขนาดเล็กมาก  ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย  เป็นวัชพืชในนาข้าว  ชาวอีสานใช้ใส่ในแกง  ต้มปลา อ่อมต่างๆ  มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว

ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ตำรายาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับน้ำนม ขับลม เป็นยาระบายท้อง  น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ (นำต้นสด 15-30 กรัม มาต้มน้ำกิน) แก้คัน ฝี และกลาก  แก้อาการบวม เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษงู ให้นำต้นสด ประมาน  15  กรัม ตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด 30  กรัม นำไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร  คั้นแล้วทานน้ำ ส่วนกากพอกรอบๆแผล  อย่าพอกบนแผล  อีกทั้งต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี ต้มน้ำดื่ม แก้พิษเบื่อเมา  ต้นและใบของผักแขยงเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (Hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.30
เมนูแนะนำ   แกงอ่อมกบ
เครื่องปรุง      กบ (ล้างทำความสะอาดแล้ว  หั่นเป็นชิ้นๆ)   ต้นหอม  ผักแขยง  ผักชีลาว ใบชะพลู ใบแมงลัก 
                       หอมแดง  ตะไคร้  พริกสด  พริกแห้ง มะเขือเปราะ  ฟักทอง  ข้าวโพดอ่อน  ถั่วฝักยาว 
                       ยอดฟักทอง  น้ำปลาร้า  น้ำปลา  ข้าวคั่ว
วิธีทำ     1. นำมะเขือเปราะ  ฟักทอง  ข้าวโพดอ่อน  หั่นเป็นลูกเต๋า พอคำ  ต้มน้ำให้เดือด
                2. นำหอมแดง ตะไคร้  พริกสด-พริกแห้ง  ตำรวมกันหยาบๆ
                3. จากต้นน้ำใส่เครื่องแกงที่ตำไว้  ใส่มะเขือเปราะ  ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน และผักต่างๆ
                4. น้ำปลาร้า  น้ำปลา  ข้าวคั่ว กบ ลงไป  ชิมรสตามชอบ
                5. เมื่อผักสุกดีก็ใส่ต้นหอม  ผักแขยง ผักชีลาว ใบชะพลู  ใบแมงลัก ลงไปเสิร์ฟร้อนๆ
กลุ่มผักภาคกลาง
ตำลึง รักษาเบาหวาน
                ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง และ แม่ฮ่องสอน) ตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
                ลักษณะทั่วไปของตำลึง  ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง  ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ  ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่  มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว  แยกเพศอยู่คนละต้น  ดอกออกตรงที่ซอกใบ  ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน  เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่อชอบของนกนานาชนิด
ประโยชน์ทางยา  และคุณค่าทางอาหาร
                ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบตาแคโรทีน  ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง  และหัวใจขาดเลือด  มีแคลเซียมที่จะช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และยังมีฟอสฟอรัส  เหล็ก ไนอาซีน วิตามินซี และอื่นๆ นอกจากนี้  จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล  พบว่าตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย  สำหรับตำรายาแผนโบราณ  ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้  แก้อาการแพ้อักเสบ  แมลงมีพิษกัดต่อย  แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดง และตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
                ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน  แก้ไข้ทุกชนิด  ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก  แก้ฝีต่างๆ แก้บวม แก้พิษร้อนภายใน  แก้พิษแมงป่องหรือตะขาบต่อย
                ต้น : กำจัดกลิ่นตัว  น้ำจากต้นรักษาเบาหวาน
                เปลือก : เป็นยาถ่าย
                เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา  แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา  ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยา โรคผิวหนัง  แก้เบาหวาน
                ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง  รักษามะเร็งเพลิง  แก้ท้องอืด  แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด  รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย  ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว  แก้ไข้  ดับพิษร้อน ถอนพิษ  ทั้งปวง แก้ปวดแสบร้อน  ถอนพิษคูน  แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้หวัด  แก้พิษกาฬ แก้เริม  แก้งูสวัด
                ผล : แก้ฝีแดง
                ส่วนประกอบทั้งหมดของตำลึงสามารถรักษาโรคผิวหนัง  รักษาอาการอักเสบของหลอดลม  รักษาเบาหวาน
เมนูแนะนำ  ตำลึงผัดหนำเลี้ยบ
เครื่องปรุง     ผักตำลึง 1-2 กำมือ  หรือแล้วแต่ชอบ       น้ำปลา  น้ำตาลทราย
                      หนำเลี้ยบ  7 ผล                                       เนื้อหมูสับ  ขีด
                      กระเทียมสับ  1   ช้อนโต๊ะ                      น้ำมันพืช  ¼  ถ้วย
วิธีทำ     1. เด็ดตำลึงให้ได้ปริมาณพอเหมาะ
                2. จากนั้นบี้เอาเม็ดหนำเลี้ยบออก
                3. สับเนื้อหนำเลี้ยบรวมกับเนื้อหมูสับจนละเอียดเข้าหากัน
                4. นำกระทะตั้งไฟ  เจียวกระเทียมสับกับน้ำมันจนเหลืองหอม
                5. ใส่หมูสับผสมหนำเลี้ยบแล้วลงไปผัดจนสุก
                6. ปรุงรสด้วยน้ำปลา  น้ำตาลทรายตามความชอบ  จากนั้นใส่ตำลึงลงไปผัดพอสุกตักใส่จานหร้อมเสิร์ฟ

About

Popular Posts

ผู้ติดตาม